การใช้ท่อพีพีอาร์ในระบบประปา
ทำให้ระบบการจัดการน้ำสะอาด ปลอดภัย
และคุ้มค่าได้อย่างไร ?
ท่อพีพีอาร์ (PPR) ต่างจากท่อพีวีซี (PVC) อย่างไร
ท่อแบบไหนที่เหมาะสำหรับระบบประปามากกว่ากัน
อีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ บ้านพบเจอเหมือนกัน ภายหลังจากที่ซื้อบ้านหรืออาคารแล้ว นั่นก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับท่อประปา ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งท่อประปาที่ไม่ดี ทำให้เกิดการรั่วซึม หรือปัญหาท่อประปาแตก ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมทำให้เกิดความเสียหายตามมาอีกหลายด้าน หากพูดถึง “ท่อประปา” ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี และต้องใช้ แน่นอนว่าหลายท่านคงจะนึกถึงท่อสีฟ้า หรือท่อ PVC ด้วยความที่มีการผลิตและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แถมยังมีราคาถูกและหาซื้อง่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ช่างประปา หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปจะเลือกใช้ท่อ PVC และถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ท่อพีพีอาร์ได้เริ่มเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ให้กับระบบประปาในบ้านเราแล้ว แต่แน่นอนว่าก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับอีกหลายท่าน ที่อาจจะยังไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อท่อประเภทนี้มาก่อน วันนี้เราจึงจะอาสาไปทำความรู้จักกับ ท่อพีพีอาร์ ให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
ท่อพีพีอาร์ คืออะไร?
ท่อพีพีอาร์ หรือ ท่อ PPR คือ ท่อที่ผลิตจาก Polypropylene Random Copolymer โดยหลายคนอาจจะเรียกว่า “ท่อเขียว” ท่อพีพีอาร์เป็นท่อที่มีความทนทานสูง มีคุณสมบัติดีกว่าท่อ PVC หรือท่อที่ถูกใช้ในลักษณะงานประเภทเดียวกัน โดยท่อพีพีอาร์สามารถทนความร้อนได้ดีกว่าท่อทั่วไป และในการเชื่อมต่อท่อพีพีอาร์ต้องใช้ความร้อนในการหลอมต่อท่อเข้าด้วยกัน ช่วยลดปัญหาการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นท่อที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค ไร้กลิ่น ไร้รสชาติ ทนทานต่อสารเคมี จึงไม่แปลกที่ท่อพีพีอาร์จะถูกนำไปใช้ในงานกับระบบน้ำดื่ม เพราะน้ำที่ถูกลำเลียงผ่านระบบท่อพีพีอาร์ นั้นสามารถมั่นใจได้ว่าดีต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน
ท่อ PPR มีกี่ประเภท?
โดยทั่วไปแล้วท่อพีพีอาร์ จะมีขายอยู่สามรูปแบบ ดังนี้
ท่อ PPR PN10 = สามารถทนแรงดันได้ 10 บาร์ รองรับอุณหภูมิได้ถึง 55 องศาเซลเซียส จึงเหมาะกับน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น มักถูกนำไปใช้ในระบบจ่ายน้ำประปาในอาคารซึ่งใช้แทนท่อ PVC Class 13.5 นั่นเอง
ท่อ PPR PN20 = สามารถทนแรงดันได้ 20 บาร์ รองรับอุณหภูมิได้ถึง 95 องศาเซลเซียส จึงเหมาะกับน้ำร้อน มักถูกนำไปใช้ในระบบจ่ายน้ำประปาน้ำร้อน หรือจุดจ่ายน้ำในตำแหน่งเครื่องทำน้ำร้อน ซึ่งนำมาใช้แทนท่อเหล็กหรือท่อทองแดงได้
ท่อ PPR Fiber PN20 = สามารถทนแรงดันได้ 20 bar เช่นเดียวกันกับ ท่อ PPR PN20 ทั่วไป แต่มีวัสดุ Fiber อยู่ชั้นตรงกลางของท่อ ช่วยทำให้ลดการขยายตัวของท่อเมื่อใช้กับน้ำร้อน จึงเหมาะสำหรับใช้เดินลอยนอกอาคารหรือผนัง เพื่อลดความเสี่ยงการขยายตัวของท่อน้ำร้อนและทำให้สะดวกต่อการติดตั้งตัวยึดท่อ (Pipe support)
ซึ่งค่า PN (ตัวเลขที่ต่อจาก PN) เป็นตัวเลขที่บ่งบอกแรงดันที่ท่อสามารถทนได้ นั่นคือ 10 และ 20 บาร์ในขณะที่ท่อพีวีซี สามารถรับความดันได้ต่ำกว่ามาก (เพราะจุดอ่อนคือ จุดที่ใช้กาวต่อท่อ)
คุณสมบัติพิเศษของท่อพีพีอาร์
ท่อพีพีอาร์สามารถประสานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
ผ่านกรรมวิธีการเชื่อม ให้ความร้อนแก่ผิวท่อและข้อต่อ จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหารั่วซึม ในขณะที่ท่อ PVC ต้องใช้กาวเชื่อม ในการประสานท่อและข้อต่อ จึงง่ายต่อการเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมตามข้อต่อได้ในอนาคตท่อพีพีอาร์ มีความทนทานต่ออุณหภูมิได้สูงกว่า ท่อ PVC
เหมาะสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบ โดยสามารถทนต่ออุณหภูมิตั้งแต่ 3-95 องศาเซลเซียส ในขณะที่ท่อ PVC สามารถทนได้ไม่เกิน 50 องศาเซลเซียสเท่านั้น จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้งานมากกว่าท่อพีพีอาร์ท่อพีพีอาร์ สะอาดปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อน
เพราะผลิตด้วยเม็ดพลาสติก PPR Virgin คุณภาพสูง มีความสะอาด ปลอดภัย และด้วยความที่พลาสติกนั้นเป็นแบบ Food Grade และการต่อท่อทำโดยละลายเนื้อพลาสติกเข้าด้วยกัน (เนื้อเดียวกัน) ไม่ต้องใช้กาว ในการต่อเหมือนท่อ PVC จึงปลอดภัยจากสารเคมีจากกาว ทั้งยังเป็นท่อที่ได้รับการยอมรับจาก NSF International จึงสามารถใช้งานเป็นท่อน้ำสำ
หรับทั้งการอุปโภค และบริโภคได้โดยตรง โดยไม่มีสารเคมีเจือปน และไม่เป็นสารก่อมะเร็งท่อ PPR มีความยืดหยุ่นสูง
มีความหยุ่นเหนียว ไม่แตกหักเมื่อโดนเหยียบ หรือกระแทก ในขณะที่ท่อพีวีซี เปราะ ง่ายต่อการแตกหัก เมื่อโดนเหยียบ ไม่ทนต่อแรงกระแทกท่อพีพีอาร์ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ถึง 50 ปี
หากใช้งานอยู่ภายใต้แรงดันที่กำหนด ด้วยระบบการเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หมดต้องกังวลถึงปัญหาการรั่วซึม ในขณะที่ท่อพีวีซีนั้นมีอายุการใช้งานที่ขึ้นกับอายุกาวและการติดตั้งการทดสอบระบบน้ำภายหลังการติดตั้ง ท่อ PPR
สามารถทำการทดสอบได้ทันที หลังจากท่อเย็นตัวลงแล้วภายในไม่กี่นาที ในขณะที่ท่อพีวีซีนั้นจะต้องรอประมาณ 1 วัน เพื่อให้ กาวแห้งสนิทก่อน จึงจะทดสอบระบบน้ำได้
ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายกว่าของท่อ PPR จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ท่อพีพีอาร์นั้นจะมีราคาสูงกว่า
ท่อ PVC แต่ยังคงมีราคาต่ำกว่าท่อเหล็ก แต่ในระยะยาวหรือคุณสมบัติการใช้งานแล้วนั้น ท่อ PPR ก็ดูคุ้มค่าคุ้มราคา และอยู่กับเราไปได้ในนานกว่าท่อ PVC อย่างแน่นอน ทั้งนี้การต่อท่อพีพีอาร์ต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อ PPR ในการหลอมเนื้อท่อและข้อต่อเข้าด้วยกัน โดยเครื่องทั่วไปที่ใช้กันนั้นก็มีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาทไปจนถึงเกือบหมื่นบาท สำหรับผู้ใช้ทั่วไปนั้น การจะซื้อเครื่องเชื่อมท่อ PPR ต้องมีงบประมาณมากพอสมควร
ในกรณีนี้ทาง Rano Tech ได้อำนวยความสะดวก ให้กับผู้ใช้งานโดยมีบริการเครื่องเชื่อมท่อ PPR ทั้งแบบขาย ให้เช่า ให้ยืม และบริการสอนงานฟรี หากมีการเสียหาย หรือต้องการซ่อมบำรุง Rano Tech มีบริการรับซ่อมบำรุงโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ และมีอะไหล่ครบ นอกจากนี้ ยังมีบริการเครื่องสำรองระหว่างซ่อมอีกด้วย (มีเงื่อนไข โปรดสอบถามฝ่ายขาย และ ฝ่ายบริการ RNT)